หน่วยงาน : สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

คำอธิบายตัวบ่งชี้


        มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้หน่วยงานมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่หน่วยงานแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น

          แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือ สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  1. แผนการจัดการความรู้ที่แสดงการกำหนดประเด็นความรู้ เป้าหมายของการจัดการความรู้ และบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย
  2. โครงการ/กิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนด และเอกสารเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
  3. เอกสารการรวบรวมความรู้ตามประเด็นที่กำหนดและเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
  4. เอกสารหลักฐานการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

รอบระยะเวลา


2565

เกณฑ์มาตรฐาน


  1. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
  2. มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็น  ที่กำหนดใน ข้อ 1
  3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง(Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1
  4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ
  5. มีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติจริง
  6. มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างน้อย 1 ประเด็น และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)  

เกณฑ์การประเมิน

มีการดำเนินการ 1 ข้อ

มีการดำเนินการ 2 ข้อ

มีการดำเนินการ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ 4-5 ข้อ

มีการดำเนินการ 6 ข้อ

6

6

6

บรรลุ

5

6

จุดแข็ง

  • การจัดการความรู้
    • สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามีคู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้ใช้งานนำไปศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่ควรพัฒนา


ข้อเสนอแนะ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยา ใจรักษ์ 053-885942
นางสาวจริยา หมื่นแก้ว 053-885942

มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

ผลการดำเนินงาน


สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้กำหนดแนวทางการบริหารและการปฏิบัติงานภายในองค์กร โดยการรวบรวมการสร้าง และการกระจายความรู้ของบุคลากรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความรู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้   ขึ้นภายในองค์กร จากการนำเอาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประกันคุณภาพในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาจัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และดำเนินการตามแผนโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 1.4-1-1) และได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เอกสารหมายเลข 1.4-1-2) ซึ่งประเด็นความรู้ดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (MIS) และระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS) เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่นยืน (Sustainable MIS) ของแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี (2565- 2569) (เอกสารหมายเลข 1.4-1-3) สำนักฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (KM) เพื่อกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน (เอกสารหมายเลข 1.4-1-4) ในที่ประชุมได้นำเสนอปัญหาที่พบที่ต้องการ ดำเนินการปรับปรุงและแก้ไข ซึ่งแต่ละฝ่ายได้แลกเปลี่ยนปัญหาในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ และเมื่อพิจารณาร่วมกันแล้วพบว่าในสถานการณ์ปัจจุบันทุกหน่วยงานต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) ทำให้ต้องทำงานในรูปแบบ Work From Home มากขึ้น อีกทั้งการประชุมออนไลน์ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกเหนือจากช่วยรักษาระยะห่างทางสังคม ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และเพื่อสุขลักษณะที่ดีของคนในองค์กร ยังรวมถึงการขยายขอบเขตการประชุมไปยังจุดต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และยังสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วในองค์กรให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และได้กำหนดประเด็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการความรู้ (KM) ในปี 2565 ขึ้น ในหัวข้อ การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นอกจากได้แนวปฏิบัติที่ดีจากทีมงานแล้ว ยังได้แนวทางการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งทุก ๆ หน่วยงานสามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในองค์กรได้

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-1-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565
1.4-1-2 แผนการจัดการความรู้ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 (หน้าที่ 5–6)
1.4-1-3 แผนยุทธศาสตร์สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ระยะ 5 ปี(2565 – 2569)
1.4-1-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (KM) ครั้งที่ 1/2565 หน้าที่ 2

มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็น ที่กำหนดใน ข้อ 1

ผลการดำเนินงาน


ประเด็นการจัดการความรู้ (KM) หัวข้อ การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ในข้อที่ 1 นั้น ได้ดำเนินตามแผนการการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เอกสารหมายเลข 1.4- 2-1) โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลระบบการประชุม ผู้ใช้งาน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งในการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ (KM)  เพื่อหาแนวทางร่วมกัน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่อาจพบเจอจากการประชุมผ่านช่องทาง Zoom และจากประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจากหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอให้นำประเด็นการจัดการความรู้ (KM) เรื่อง การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Digital CMRU Day และ CMRU KM Day ในระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.4-2-2 ถึง เอกสารหมายเลข 1.4-2-3)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-2-1 แผนการจัดการความรู้ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 (หน้าที่ 5–6)
1.4-2-2 รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ครั้งที่ 2/2565 หน้า 2
1.4-2-3 บันทึกข้อความและโบวชัวร์ประชาสัมพันธ์เชิญเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการความรู้ (KM) ในรูปแบบออนไลน์

มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit nowledge) เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1

ผลการดำเนินงาน


สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นหน่วยงานแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยได้จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ (KM) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรในหัวข้อที่มอบหมายโดยผู้รับผิดชอบจากการประชุมครั้งที่ 2/2565 ร่วมกันหาแนวทางการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom ตามขอบเขตงานที่กำหนด เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (เอกสารหมายเลข 1.4-3-1) พร้อมทั้งหารือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบออนไลน์ให้กลุ่มเป้าหมาย และหน่วยงานอื่น โดยระบบ Zoom meeting ผ่านการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3/2565 (เอกสารหมายเลข 1.4-3-2) และได้แจ้งกำหนดการดำเนินงานผ่านการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 4/2565 (เอกสารหมายเลข 1.4-3-3) ตามแผนการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.4-3-4) หลังจากนั้นได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ” เพื่อนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีสำหรับทุก ๆ หน่วยงานในการใช้ระบบ Zoom ในการจัดการประชุม รวมถึงได้มีการขยายขอบเขตเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วไปยังจุดต่าง ๆ ภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานผ่านช่องทาง Zoom ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (เอกสารหมายเลข 1.4-3-5) และได้ข้อเสนอแนะในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงและเป็นแนวปฏิบัติที่ดีมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ (เอกสารหมายเลข 1.4-3-6)  หลังจากจัดกิจกรรมอบรมหัวข้อ “การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ” แล้ว ได้ให้บุคลากรตอบแบบประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ (เอกสารหมายเลข 1.4-3-7) ซึ่งมีผลการประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ดีมาก (เอกสารหมายเลข 1.4-3-8)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-3-1 บันทึกการเล่าเรื่องกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4-3-2 รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ครั้งที่ 3/2565
1.4-3-3 รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ครั้งที่ 4/2565
1.4-3-4 แผนการจัดการความรู้ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 (หน้าที่ 5–6)
1.4-3-5 ภาพบรรยากาศวันกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4-3-6 คู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา
1.4-3-7 หน้าจอแบบประเมินการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ แบบออนไลน์
1.4-3-8 ผลการประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ

มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ

ผลการดำเนินงาน


เมื่อสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้รวบรวมเนื้อหา ประเด็นความรู้ มาจัดทำคู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.4-4-1) และได้ทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 1.4-4-2)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-4-1 คู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา
1.4-4-2 รายงานสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565

มีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติจริง

ผลการดำเนินงาน


หลังจากที่สำนักฯ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ แล้ว ผู้บริหารได้กำกับติดตามผลอย่างใกล้ชิด และได้ติดตามผลการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง พบว่า ผู้ใช้งานประชุมผ่านช่องทาง Zoom สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่มีคู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา (เอกสารหมายเลข     1.4-5-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-5-1 รายงานผลการปฏิบัติงานตามคู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างน้อย 1 ประเด็น และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

ผลการดำเนินงาน


สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้จัดกิจกรรม “การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ” และได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานการจัดการความรู้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในกิจกรรม CMRU KM DAY ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ จัดโดยสำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.4-6-1) ซึ่งสำนักได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลงานการจัดการความรู้ในระดับมหาวิทยาลัย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำคู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.4-6-2) เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.4-6-3) และเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในรายงานสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.4-6-4)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-6-1 ภาพบรรยากาศการเข้าร่วมกิจกรรม CMRU KM DAY 2022 ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2565
1.4-6-2 คู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา
1.4-6-3 ภาพเว็บไซต์ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่เผยแพร่คู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา
1.4-6-4 ภาพเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่เผยแพร่คู่มือการดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่