หน่วยงาน : สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

คำอธิบายตัวบ่งชี้


        ผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้รับบริการของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าเป็นการวัดประสิทธิภาพที่สำคัญของการทำงานของกลุ่มงานทั้ง 7 กลุ่มงาน ในการพัฒนาตัวบ่งชี้วัดงานบริการนี้ ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละกลุ่มงานมีส่วนร่วมในการกำหนดระดับความยาก-ง่ายของงานที่รับผิดชอบ และกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่จะแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้รับบริการจนแล้วเสร็จสำหรับงานที่มีการติดต่อกับผู้รับบริการโดยตรง โดยกำหนดให้ 1 วันทำการ เท่ากับ 8 ชั่วโมง ไม่นับวันหยุดราชการ

          การพัฒนาตัวชี้วัดงานบริการ ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดระดับความยาก-ง่าย ของงานที่รับผิดชอบ และนำระดับความยาก-ง่ายนี้มาคำนวณระยะเวลาที่ใช้ในการให้บริการจนแล้วเสร็จ เพื่อให้ได้ผลสำเร็จของระยะเวลาในการแก้ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยแต่ละงานมีระดับความยาก-ง่าย ดังนี้

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

               รายงานจากระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (Monitoring and Evaluation System : MES) เป็นรายงานเวลาที่ใช้ในการให้บริการจนแล้วเสร็จ

 


รอบระยะเวลา


2565

เกณฑ์มาตรฐาน



เกณฑ์การประเมิน

‹ ร้อยละ 60

ร้อยละ 60-69

ร้อยละ 70-79

ร้อยละ 80-89

≥ ร้อยละ 90

4 คะแนน

4 คะแนน

5 คะแนน

บรรลุ

5

4 คะแนน

จุดแข็ง


จุดที่ควรพัฒนา


ข้อเสนอแนะ


อาจารย์ ดร.ทิวาวัลย์ ต๊ะการ 053-885930
นางพรพิมล แก้วฟุ้งรังษี 053-885931

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน


ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ : ………5…….คะแนน

การประกันคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ระดับหน่วยงานสนับสนุน (เอกสารหมายเลข 2.8-1-1) ได้กำหนดให้มีองค์ประกอบที่ 2 ตัวบ่งชี้ตามภารกิจของหน่วยงาน โดยสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ผลสำเร็จของระยะเวลาในการแก้ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาจึงได้จัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 2.8-1-2) และ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการ (Monitoring and Evaluation System : MES) สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 2.8-1-3) เพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดช่องทางในการเก็บข้อมูลการให้บริการของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย 7 กลุ่มงานหลัก ได้แก่ 1) บริหารและจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) บริหารงานทั่วไป 3) พัฒนาระบบสารสนเทศ 4) ดูแลและบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 5) จัดอบรมและบริการวิชาการ 6) การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ และ 7) งานบริการ (จองห้องประชุม ห้องปฏิบัติการ การเรียนการสอนทางไกล และออกแบบสื่อกราฟิกและเว็บไซต์) ในปีงบประมาณ 2565 หน่วยงานมีช่องทางการให้บริการที่สอดคล้องกับมาตราการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)   จึงทำให้ผู้รับบริการมีช่องทางติดต่อหน่วยงานหลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการ (Monitoring and Evalution System : MES) ที่เว็บไซต์ http://www.mes.cmru.ac.th , Facebook Fanpage , Line , eMail และ โทรศัพท์ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาจึงได้เพิ่มกลยุทธในการเก็บข้อมูลให้สามารถประเมินได้สะดวกขึ้น โดยเก็บข้อมูลการขอรับบริการผ่านระบบ MES และผ่านช่องทางการให้บริการอื่นๆ เช่น Facebook, Line และ eMail ผู้รับบริการสามารถประเมินผลการให้บริการผ่านแบบฟอร์มประเมินการขอรับบริการสำนักดิจิทัลฯ ที่ URL: https://forms.gle/ytL7wQWAf1JaJnLVA ทั้งนี้ผู้บริหารของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามอบหมายให้บุคลากรของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาเก็บข้อมูลหลังการให้บริการตลอดปีงบประมาณ 2565 และนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำรายงานผลสำเร็จของระยะเวลาในการแก้ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ต่อไป (เอกสารหมายเลข 2.8-1-4) จากการเก็บข้อมูลการให้บริการตลอดปีงบประมาณ 2565     มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

หมายเหตุ : นำผลรวมรายการทั้งหมดของร้อยละถ่วงน้ำหนักในรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนดมาเทียบคะแนนจากเกณฑ์การประเมิน ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2564 - 30 กันยายน พ.ศ.2565

จากตารางผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

1) งานพัฒนาระบบสารสนเทศ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 495 รายการ มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 470 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.90 มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 25 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.05

2) งานการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 861 รายการ มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 828 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 1.58 มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 33 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.06

3) งานบริหารงานทั่วไป มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 1,465 รายการ มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 1,465 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 2.80 มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 0 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.00

4) งานบริหารและจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 48,967 รายการ มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 48,799 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 93.28    มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 168 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.32

 5) งานดูแลและซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 288 รายการ มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 271 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.52 มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 17 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.03

 6) งานบริการ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 216 รายการ มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 204 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.39 มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 12 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.02

7) งานจัดอบรมและบริการวิชาการ  มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 21 รายการ มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 21 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.04 มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 0 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.00

ภาพรวม 7 งานของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 52,313 รายการ        มีรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด จำนวน 52,058 รายการ คิดเป็น ร้อยละถ่วงน้ำหนัก 99.51 มีรายการที่แก้ไขเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 255 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.49

ดังนั้นเมื่อนำผลรวมรายการทั้งหมดของร้อยละถ่วงน้ำหนักในรายการที่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนดมาเทียบคะแนน จากเกณฑ์การประเมิน จึงได้คะแนนเท่ากับ 5 คะแนน (เอกสารหมายเลข 2.8-1-6)

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

< ร้อยละ 60

ร้อยละ 60-69

ร้อยละ 70-79

ร้อยละ 80-89

≥ ร้อยละ 90

 

ผลการประเมิน

รายการ

ปีงบประมาณ 2563

ปีงบประมาณ 2564

ประเมินตนเอง

กรรมการประเมิน

ประเมินตนเอง

กรรมการประเมิน

เป้าหมาย

4 คะแนน

5 คะแนน

4 คะแนน

5 คะแนน

ผลการดำเนินงาน

5 คะแนน

5 คะแนน

5 คะแนน

5 คะแนน

การบรรลุเป้าหมาย

บรรลุ

บรรลุ

บรรลุ

บรรลุ

นำผลการดำเนินงานข้างต้นรายงานต่อคณะกรรมการดำเนินงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 คณะกรรมการมีมติรับทราบผลคะแนน และให้นำข้อมูลดังกล่าวรายงานผลการประกันคุณภาพประจำปีงบประมาณ 2565 ทั้งนี้คณะกรรมการมีข้อเสนอแนะให้เก็บข้อมูลตลอดปีงบประมาณ 2566 และกำหนดค่าเป้าหมายการประเมินตนเองของตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ผลสำเร็จของระยะเวลาในการแก้ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ในปีงบประมาณ 2566 เท่ากับ 4 คะแนน (เอกสารหมายเลข 2.8-1-6)

 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.8-1-1 คู่มือประกันคุณภาพภายในระดับหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 หน้า 30 – 31
2.8-1-2 แผนยกระดับคุณภาพการศึกษาของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 ในเล่มแผนการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพ Improvement Plan ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 หน้า 14
2.8.1-3 คำสั่งสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ 137/2564 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565
2.8-1-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564
2.8-1-5 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2565 ตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ผลสำเร็จของระยะเวลาในการแก้ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
2.8-1-6 รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 30 กันยายน 2565

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่