หน่วยงาน : สำนักหอสมุด

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

0-5388-5900

โทรสาร

0-5388-5900

คำอธิบายตัวบ่งชี้


งานสำนักหอสมุด ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการผลิตบัณฑิต เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและทันสมัย ในการสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัย และบริการวิชาการแก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและ ชุมชนท้องถิ่น ด้วยการดำเนินงานตามระบบและกลไกด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ


รอบระยะเวลา



เกณฑ์มาตรฐาน


เกณฑ์มาตรฐาน

  1. มีแผนบริการสำนักหอสมุด แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนการใช้พื้นที่ ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ทันสมัย
  2. มีการดำเนินงานตามแผน ร้อยละ 80
  3. มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผน
  4. มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ
  5. มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนางานในปีถัดไป

เกณฑ์การประเมิน

มีการดำเนินการ 1 ข้อ

มีการดำเนินการ 2 ข้อ

มีการดำเนินการ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ 4 ข้อ

มีการดำเนินการ 5 ข้อ

5

5

5

บรรลุ

5

5

จุดแข็ง


จุดที่ควรพัฒนา


ข้อเสนอแนะ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธินันท์ ชื่นชม 053-885901
นางฐิติกา ปัญญาดี 053-885902

1. มีแผนบริการสำนักหอสมุด  แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ  แผนการใช้พื้นที่ ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ทันสมัย

ผลการดำเนินงาน


  1. สำนักหอสมุดมีแผนบริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) (เอกสารหมายเลข 2.10-1-1)
  2. สำนักหอสมุด มีแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567)  (เอกสารหมายเลข 10-1-2)
  3. สำนักหอสมุด มีแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) (เอกสารหมายเลข 2.10-1-3)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.10-1-1 แผนบริการสำนักหอสมุดระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 - 2568)
2.10-1-2 แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567)
2.10-1-3 แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570)

2. มีการดำเนินงานตามแผน ร้อยละ 80

ผลการดำเนินงาน


1. สำนักหอสมุดมีการดำเนินการแผนบริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) โดยในปีงบประมาณ 2565 มีโครงการตามแผนบริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568)  ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 18 โครงการ ดำเนินการทั้งหมด 18 โครงการ คิดเป็น ร้อยละ 100  (เอกสารหมายเลข 2.10-2-1 หน้า 4 - 23)

รายชื่อโครงการที่ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 มีดังนี้​​​​​​​

  1. โครงการพัฒนานวัตกรรมบริการเพื่อการบริการเชิงรุก
  2. โครงการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศสำหรับผู้ใช้ที่มีความต้องการพิเศษ
  3. โครงการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning Space)
  4. โครงการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับผู้ใช้ที่มีความต้องการพิเศษ
  5. โครงการ พัฒนาบริการเชิงรุกเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการวิจัย
  6. โครงการ Friends of Library
  7. บริการ High Speed Catalogue
  8. โครงการสำรวจความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
  9. โครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
  10.  โครงการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการประชาสัมพันธ์
  11. โครงการอบรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะศตวรรษที่ 21: CMRU Library Training
  12. โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
  13. โครงการพัฒนาผู้ให้บริการ
  14. โครงการพัฒนาผู้ใช้บริการ/บุคลากรของสำนักหอสมุด ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  15. โครงการพัฒนาสื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  16. โครงการส่งเสริมการอ่านและการใช้ห้องสมุด
  17. โครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศวิชาชีพครู (ศูนย์แม่ริม)
  18. โครงการวิจัยและบริการวิชาการและวิชาชีพแก่ท้องถิ่น

 

2. สำนักหอสมุดมีการดำเนินการแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567)

โดยในปีงบประมาณ 2565 มีโครงการตามแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567) ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 23 โครงการ ดำเนินงานทั้ง 23 โครงการ คิดเป็น ร้อยละ 100 ดังนี้  (เอกสารหมายเลข 2.10-2-2 หน้า 6 - 19)

  1. โครงการพัฒนาหอจดหมายเหตุดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (CMRU Digital Archives)
  2. โครงการพัฒนาซับเจคไกด์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (Subject Guides)
  3. โครงการพัฒนาระบบจองห้องบริการ สำนักหอสมุด (Room Reservation)
  4. โครงการพัฒนาเนื้อหารายวิชา การพัฒนาทักษะการใช้ห้องสมุด บน MOOC
  5. โครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ Collection พิเศษ
  6. โครงการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ใช้สำนักหอสมุดแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ผ่านทาง LINE Application
  7. โครงการพัฒนาทักษะบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. โครงการพัฒนาผู้ใช้บริการระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
  9. โครงการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์บริการสำนักหอสมุด
  10. โครงการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  11. โครงการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนงานห้องสมุดสีเขียว
  12. โครงการจัดซื้อโสตทัศนวัสดุเพื่อการเรียนรู้
  13. โครงการจัดหา/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
  14. โครงการปรับปรุงและใช้ประโยชน์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
  15. โครงการพัฒนาผู้ใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
  16. โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
  17. โครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ RFID
  18. โครงการจัดหาครุภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์
  19. โครงการจัดหาครุภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงและใช้งานทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์
  20. โครงการพัฒนาระบบภาระงานบุคลากร สำนักหอสมุด (TOR Online)
  21. โครงการระบบรายงานการไปพัฒนาตนเอง (Training Report)
  22. โครงการพัฒนา ระบบสารสนเทศการประชุม สำนักหอสมุด (CMRULib Meeting Information System)
  23. โครงการพัฒนาระบบรายงานข้อมูลสถิติของสำนักหอสมุด (Statistics Report)โครงการพัฒนา ระบบสารสนเทศการประชุม สำนักหอสมุด (CMRULib Meeting Information System)

​​​​​​​3. สำนักหอสมุดมีการดำเนินการแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) โดยในปีงบประมาณ 2565 มีโครงการตามแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 2 โครงการ ดำเนินงานทั้ง 2 โครงการคิดเป็น ร้อยละ 100 ดังนี้ (เอกสารหมายเลข 2.10-2-3)

  1. โครงการพัฒนาพื้นที่ภายในห้องสมุดศูนย์เวียงบัว
  2. โครงการ Safe Zone

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.10-2-1 แผนบริการสำนักหอสมุดระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 - 2568)
2.10-2-2 แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567)
2.10-2-3 แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570)

3. มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผน

ผลการดำเนินงาน


สำนักหอสมุดมีการดำเนินการติดตามแผนต่างๆ โดย

คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี สำนักหอสมุด (เอกสารหมายเลข 2.10-3-1)  โดยมีการจัดประชุมติดตามแผนเป็นรายไตรมาส ดังนี้

    1. วันที่ 12 ตุลาคม 2564 (เอกสารหมายเลข 2.10-3-2)  
    2. วันที่ 20 มกราคม 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-3-3)  
    3. วันที่ 25 เมษายน 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-3-4)  
    4. วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-3-5)  
    5. วันที่ 11 ตุลาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-3-6)  

1. แผนบริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโดยมีผลการติดตามดังนี้

  • ผลการดำเนินงาน คิดตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ จำนวน  3 ตัวชี้วัด บรรลุทั้ง 3 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100
  • ผลการดำเนินงานคิดตามตัวชี้วัดโครงการ จำนวน 30 ตัวชี้วัด บรรลุทั้ง 30 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100 

(เอกสารหมายเลข 2.10-3-7 หน้า 31 - 34)

2. แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567) มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโดยมีผลการติดตามดังนี้

  • ผลการดำเนินงาน คิดตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ จำนวน  5 ตัวชี้วัด บรรลุ 3 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 60
  • ผลการดำเนินงานคิดตามตัวชี้วัดโครงการ จำนวน 34 ตัวชี้วัด บรรลุ 29 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 85.30

(เอกสารหมายเลข 2.10-3-3 หน้า 20 - 22)

3. แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโดยมีผลการติดตามดังนี้

  • ผลการดำเนินงาน คิดตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ จำนวน  2 ตัวชี้วัด บรรลุทั้ง 2 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100
  • ผลการดำเนินงานคิดตามตัวชี้วัดโครงการ จำนวน 8 ตัวชี้วัด บรรลุ 6 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 75

(เอกสารหมายเลข 2.10-3-4 หน้า 15 - 18)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.10-3-1 คำสั่งสำนักหอสมุดที่17/2561 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี สำนักหอสมุด
2.10-3-2 รายงานการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ครั้งที่ 1/2564
2.10-3-3 รายงานการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ครั้งที่ 1/2565
2.10-3-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ครั้งที่ 2/2565
2.10-3-5 รายงานการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ครั้งที่ 3/2565
2.10-3-6 วาระการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ครั้งที่ 4/2565
2.10-3-7 แผนบริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568)
2.10-3-8 แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567)
2.10-3-9 แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570)

4. มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ

ผลการดำเนินงาน


สำนักหอสมุดได้ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีการประเมินความพึงพอใจทุกกิจกรรมที่ดำเนินการตลอดทั้งปี ดังนี้

  1. การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-1)
  2. การประเมินความพึงพอใจบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-2)
  3. การประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้าและวิจัย (CMRU Library Training) ประจำปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-3)
  4. การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Hi-speed catalog ประจำปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-4)
  5. การประเมินความพึงพอใจของการบริหารจัดการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-5)
  6. ความพึงพอใจต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-6)
  7. ความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-7)

  • โดยในการศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งานบริการสารสนเทศ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 22 สิงหาคม – 9 กันยายน 2565 โดยแบบประเมินความพึงพอใจ ประกอบไปด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมประเด็น ดังนี้
  1. ด้านทรัพยากรสารสนเทศ / ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
  2. ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ
  3. ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
  4. ด้านสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก
  5. ด้านคุณภาพการให้บริการ

ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.29 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-1)


  • การประเมินความพึงพอใจบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งานบริการสารสนเทศได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2564 – เดือนกันยายน 2565 โดยแบบประเมินความพึงพอใจ ประกอบไปด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมประเด็น ดังนี้
  1. ด้านกระบวนการและการให้บริการ
  2. ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ
  3. ด้านสถานที่

ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.15  (เอกสารหมายเลข 2.10-4-2)


  • การประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้าและวิจัย (CMRU Library Training) ประจำปีงบประมาณ 2565 งานบริการสารสนเทศได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2564 – เดือนสิงหาคม 2565 โดยมีการจัดกิจกรรมอบรมจำนวน 10 ครั้ง ทั้งในรูปแบบ Online และ On-site ดังนี้

 

ลำดับ

ชื่อหลักสูตร

ระดับ

ค่าเฉลี่ย

1

e-Theses+e-Research

มาก

4.39

2

EBSCO Discovery Service (EDS)

มาก

4.36

3

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการใช้งาน SSL-VPN

มาก

4.41

4

การสืบค้นและการใช้ e-Books, e-Journals และ e-Magazines

มาก

4.31

5

โปรแกรมจัดการบรรณานุกรมสำเร็จรูป (Zotero) และการเขียนอ้างอิงเอกสารทางวิชาการ

มาก

4.48

6

ครูรัก(ษ์)ถิ่น

มาก

4.40

7

Online Library Orientation

มาก

4.17

8

การสืบค้นสารสนเทศด้านชีววิทยา

มาก

4.29

9 Gale Empowering Research มาก 4.28
10 การสืบค้นสารสนเทศด้านคหกรรมศาสตร์ มาก 3.99

 

รวมฉลี่ย

มาก

4.31

โดยแบบประเมินความพึงพอใจประกอบไปด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. 1.    วิทยากร
  2. 2.    วิธีการจัดอบรม
  3. 3.    อุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการอบรม
  4. 4.    ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.31 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-3 หน้า 4)


  • การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Hi-speed catalog ประจำปีงบประมาณ 2565 งานพัฒนาและจัดระบบสารสนเทศได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565 โดยแบบประเมินความพึงพอใจ ประกอบไปด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมประเด็น ดังนี้
  1. ด้านบุคลากรที่ให้บริการ (ให้บริการด้วยความสุภาพ อัธยาศัยดี / ให้บริการด้วยความเต็มใจ)
  2. ด้านขั้นตอนการให้บริการ (ขั้นตอนการใช้บริการง่าย ไม่ซับซ้อน / ความรวดเร็วในการให้บริการ)
  3. ด้านความถูกต้องของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ

ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 5.00 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-4)


  • การประเมินความพึงพอใจของการบริหารจัดการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี 2565 โดยงานสำนักงานผู้อำนวยการได้ดำเนินการเก็บแบบสอบถามในช่วงเดือนกันยายน 2565 โดยแบบประเมินความพึงพอใจ ประกอบไปด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมประเด็น ดังนี้
  1. ด้านกระบวนการและการให้บริการ
  2. ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ
  3. ด้านสถานที่

ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.12 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-5)


  • ความพึงพอใจต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 งานเทคโนโลยีห้องสมุด ได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 8 บริการ ดังนี้

 

ลำดับ

ความพึงพอใจต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์

ระดับ

ค่าเฉลี่ย

1

บริการเครือข่ายเสมือน (SSL-VPN)

มาก

4.48

2

บริการ Web Subject Guide

มาก

4.52

3

บริการ แนะนำหนังสือผ่านเว็บไซต์ (Books Suggestion)

มาก

4.28

4

บริการ CMRUL Online Tutorial

มาก

4.29

5

เว็บไซต์สำนักหอสมุด

มาก

4.34

6

บริการจองห้องดูหนังและห้องค้นคว้ากลุ่ม (Room Reservation)

มาก

4.46

7

บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง (Netflix)

มาก

4.31

8

บริการ CMRUL Virtual Library

มาก

4.36

 

รวมฉลี่ย

มาก

4.38

 

ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.38 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-6)


  • ความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565 งานเทคโนโลยีห้องสมุด ได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจ ของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศของสำนักหอสมุด จำนวน 7 ระบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ลำดับ

ความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศ

ระดับ

ค่าเฉลี่ย

1

ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์สำนักหอสมุด

มาก

4.29

2

ระบบรายงานภาระงานบุคลากรสำนักหอสมุด (TOR Online)

มาก

4.10

3

ระบบรายงานการไปพัฒนาตัวเอง (Training Report)

มาก

4.21

4

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (WALAI AutoLib)

มาก

3.90

5

ระบบบริหารจัดการเว็บซับเจคไกด์(Web Subject Guide)

มาก

4.20

6

ระบบจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

มาก

4.19

7

ระบบฐานข้อมูลจดหมายหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มาก

3.96

 

รวมฉลี่ย

มาก

4.12

ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.12 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-7)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.10-4-1 การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565
2.10-4-2 การประเมินความพึงพอใจบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2.10-4-3 การประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้าและวิจัย (CMRU Library Training) ประจำปีงบประมาณ 2565
2.10-4-4 การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Hi-speed catalog ประจำปีงบประมาณ 2565
2.10-4-5 การประเมินความพึงพอใจของการบริหารจัดการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี 2565
2.10-4-6 ความพึงพอใจต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565
2.10-4-7 ความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565

5. มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนางานในปีถัดไป

ผลการดำเนินงาน


     สำนักหอสมุด มีการดำเนินการตามแผนงานต่างๆ มีการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการรับฟังเสียงของผู้ใช้บริการ (Voice of Customers) ของสำนักหอสมุด และได้มีการดำเนินการนำผลการประเมิน และการรับฟังเสียงของผู้ใช้บริการมาประกอบในการจัดทำแผนบริการสารสนเทศระยะ 5 ปี แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ 5 ปี และแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี

      สำนักหอสมุดมีการติดตามการทำงานของแผนงานต่างๆ ตลอดปีงบประมาณ ดังผลการติดตามการดำเนินงานตามแผนต่างๆ ข้างต้นและสำนักหอสมุด มีการดำเนินการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการตลอดปีงบประมาณ 2565 และเมื่อนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่างๆ มาวิเคราะห์แล้ว พบว่า สำนักหอสมุดสามารถดำเนินการได้ ตามเป้าหมายที่วางไว้ (ความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40) จำนวน 3 ด้านได้แก่

  1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.49
  2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.43
  3. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.40

      อย่างไรก็ตาม สำนักหอสมุด ยังต้องพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คือได้รับความพึงพอใจ มากกว่า หรือ เท่ากับ 4.40 ทุกด้าน โดยเฉพาะด้าน

  1. ความพึงพอใจด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.07
  2. ความพึงพอใจด้านระบบสารสนเทศหน่วยงาน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.22  

    จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาความต้องการและความพึงพอใจผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-5-1) เมื่อพิจารณาข้อคิดเห็นในส่วน ความต้องการ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงในด้านต่างๆ พบว่า มีความต้องการ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงในด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สูงที่สุด จำนวน 325 ความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 41.51 ของความคิดเห็นทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับความพึงพอใจความต้องการของผู้ใช้บริการด้านความพึงพอใจด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.07 ถึงแม้จะอยู่ในระดับมาก แต่เป็นด้านที่สำนักหอสมุดยังคงต้องให้ความสำคัญและพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น  โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับ ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ผู้ใช้บริการให้ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุง เช่น

  • ควรเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน
  • ควรเพิ่มพื้นที่บริการภาพยนตร์
  • ควรเพิ่มพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย
  • ต้องการให้ปรับปรุงบรรยากาศให้น่าใช้บริการ
  • ควรเพิ่มเพิ่มเทคโนโลยี/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ควรเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการสืบค้นข้อมูล
  • ควรเพิ่มจุดปลั๊กไฟ หรือให้บริการปลั๊กไฟเพิ่มเติม
  • ต้องการเพิ่มแสงสว่าง เป็นต้น

          สำหรับ ความต้องการ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงในด้านต่างๆ ถัดมาคือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ / ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวน 118 ความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 15.07 ของความคิดเห็นทั้งหมด โดยผู้ใช้บริการให้ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุง มาเช่น

  • จัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัยและหลากหลาย และเพิ่มจำนวนให้เพียงพอต่อความต้องการ
  • ให้พัฒนาความสะดวกในการเข้าถึงและใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นต้น

     ในส่วนของการสำรวจความไม่สะดวกหรือความไม่พอใจในการใช้บริการห้องสมุด พบว่า ผู้ใช้บบริการ หาหนังสือบนชั้นไม่พบ มากที่สุด จำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 34.43 รองลงมาคือ การสแกนบัตรผ่านเข้า - ออกห้องสมุดยาก จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 29.70 ปลั๊กไฟไม่เพียงพอ จำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ 28.91 รวมถึง ผู้ใช้บริการเสียงดัง และ ที่นั่งอ่านหนังสือไม่เพียงพอ จำนวน 159, 152 คน คิดเป็นร้อยละ 20.89 และ 19.97 ตามลำดับ

     ดังนั้น เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดแล้วนั้น คณะกรรมการจัดทำแผนฯ ได้มีการพัฒนาโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และเพื่อพัฒนาสำนักหอสมุดให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยบรรจุโครงการต่างๆ ไว้ในแผนต่างๆ ดังนี้

 

  • แผนบริการสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (2566 – 2570) มีโครงการที่พัฒนาเพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้บริการดังนี้

         1. โครงการพัฒนาพื้นที่ Co-Working Space

                    1.1 ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการยืม – คืน

                    1.2 เพิ่มจุดให้บริการ Edutainment Zone (ห้องดูหนัง)

         2. โครงการส่งเสริมการใช้สำนักหอสมุด ศูนย์แม่ริม

2.1 กิจกรรมการประกวดคลิปวิดีโอ “รักสะลวง  รักสำนักหอสมุด   ศูนย์แม่ริม” ส่งเสริมให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดศูนย์แม่ริม ซึ่งมีพื้นที่นั่งอ่านและพื้นที่ให้บริการเป็นจำนวนมาก

         3. โครงการ CMRU Library Safe Zone

                     3.1 ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เพื่อลดฝุ่น PM 2.5

         4. โครงการออกแบบบริการโดยผู้ใช้มีส่วนร่วม เพื่อห้องสมุดจะสามารถพัฒนาบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม

         5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้าและวิจัยสำหรับผู้ใช้บริการ (Smart Learners & Smart Users) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี งบประมาณ 2566 สำนักหอสมุดได้ นำผลการประเมินของผู้เข้าร่วมอบรมมาปรับปรุงหลักสูตรการอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ/ผู้เข้ารับการอบรมมายิ่งขึ้นและขยายหลักสูตรเพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้ระดับบัณฑิตศึกษา เช่น มีการเพิ่มหลักสูตรต่างๆ ดังนี้

  • การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาและการเขียนบรรณานุกรม
  • การสืบค้นวารสารและดัชนีวารสาร
  • การสืบค้น CMRU OPAC และการค้นหาหนังสือบนชั้น
  • การใช้งานระบบจัดการข้อมูลบรรณานุกรม Zotero เป็นต้น

 

(เอกสารหมายเลข 2.10-5-2)


  • แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ 5 ปี (2563 – 2567) มีโครงการที่พัฒนาเพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้บริการดังนี้
  1. โครงการพัฒนาเนื้อหารายวิชา การพัฒนาทักษะการใช้ห้องสมุด บน MOOC (โดยการนำเนื้อการอบรมผู้ใช้บริการจากโครงการ Smart Learners & Smart Users มาพัฒนาเนื้อหารายวิชาและดำเนินการอบรมผู้ใช้บริการบนระบบ MOOC)
  2. โครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ Collection พิเศษ (CMRUL Virtual Library Phase II)
  3. โครงการจัดหา/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์  (เพิ่มจำนวนการบอกรับบริการ ออนไลน์สตรีมมิง เช่น Netflix Disney+ และ IQD online.com)
  4. โครงการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ใช้สำนักหอสมุดแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (ระบบ CMRUL Check-in เพื่อแก้ปัญหาจุดสแกนทางเข้าใช้บริการสำนักหอสมุด )
  5. โครงการจัดหาครุภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อที่สำนักหอสมุดจะสามารถส่งเสริมห้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น จึงดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น Tablet iPad คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น ให้แก่ผู้ใช้บริการ เป็นต้น

 

(เอกสารหมายเลข 2.10-5-3)


  • แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (2565 – 2570) มีโครงการที่พัฒนาตามความต้องการของผู้ใช้บริการดังนี้

         1. โครงการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning Space)

                    1.1 ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการยืม – คืน

                    1.2 เพิ่มจุดให้บริการ Edutainment Zone (ห้องดูหนัง)

         2. โครงการ CMRU Library Safe Zone

2.1 ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เพื่อลดฝุ่น PM 2.5

         3. โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ทันสมัย

3.1 ปรับปรุงจุดเสียบปลั๊กไฟ

         4. โครงการพัฒนาพื้นที่ให้ประหยัดพลังงาน

4.1 เปลี่ยนหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน (ศูนย์แม่ริม)

4.2 ติดตั้งไฟกระตุกในพื้นที่ให้บริการ (เวียงบัว)

(เอกสารหมายเลข 2.10-5-4)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.10-5-1 การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565
2.10-5-2 แผนบริการสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (2566 – 2570)
2.10-5-3 แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ 5 ปี (2563 – 2567)
2.10-5-4 แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (2565 – 2570)

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
สำนักหอสมุด

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สำนักหอสมุด

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5900 โทรสาร 0-5388-5900

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่