หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

คำอธิบายตัวบ่งชี้


พิจารณาการตอบสนองและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน ซึ่งถือเป็นบทบาทของหน่วยงาน การตอบสนองดังกล่าวมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด สามารถสะท้อนได้จากความพึงพอใจของผู้รับบริการ ทั้งประชาชนผู้มารับบริการ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งการสำรวจความพึงพอใจโดยทั่วไปจะพิจารณาประเด็นสำคัญ คือ

  1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ
  2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
  3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
  4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ
  5. ความพึงพอใจด้านระบบสารสนเทศหน่วยงาน

ทั้งนี้ อาจรวมถึงความพึงพอใจต่อบทบาทของหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย 3 ด้าน คือ การเป็นผู้เตือนสติสังคม การชี้นำสังคม การตอบสนองความต้องการของสังคม

ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หมายถึง การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจแบบประมาณค่า ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาจากประเด็นที่สำคัญ คือ  ความพึงพอใจ  ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านระบบสารสนเทศหน่วยงาน

ผู้รับบริการ หมายถึง นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย หรือบุคคลภายนอกที่มารับบริการโดยตรง เช่น ผู้ปกครอง สถานประกอบการ เป็นต้น

ระยะเวลาในการประเมินความพึงพอใจ ตามปีงบประมาณหรือปีการศึกษาซึ่งมีการดำเนินการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 1 ครั้ง ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับหน่วยงาน

หน่วยงานสนับสนุน ประเมินผลการดำเนินงานปีงบประมาณ และนำผลไปวิเคราะห์ สังเคราะห์กับ                 ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณถัดไป

 

ตัวอย่าง การคำนวณสำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้มีพันธกิจหลักด้านบริการโดยตรง

          สำนัก/กอง .......................ปีงบประมาณ ....................................ได้จัดกิจกรรม/โครงการให้บริการ จำนวน 5 โครงการ และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ รายละเอียดดังนี้

          กิจกรรม/โครงการที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 3.55      จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 90 คน

          กิจกรรม/โครงการที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 4.55      จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 80 คน

          กิจกรรม/โครงการที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 3.85      จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 95 คน

          กิจกรรม/โครงการที่ 4 มีค่าเฉลี่ย 4.15      จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 90 คน

          กิจกรรม/โครงการที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 4.30      จำนวนผู้ตอบแบบถามถาม 85 คน

 

ดังนั้น ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ =  (3.55x90)+(4.55x80)+(3.85x95)+(4.15x90)+(4.30x85)  = 4.0642

                                                                       90+80+95+90+85

ดังนั้น คะแนนที่ได้ = 4.06

 


รอบระยะเวลา



เกณฑ์มาตรฐาน


ใช้คะแนนผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการของหน่วยงาน (คะแนนเต็ม 5) ที่ครอบคลุมอย่างน้อย 3 ประเด็นดังนี้

  1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ
  2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
  3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
  4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ
  5. ความพึงพอใจด้านระบบสารสนเทศหน่วยงาน

หมายเหตุ    สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้มีพันธกิจหลักด้านบริการโดยตรง อนุโลมให้ใช้คะแนนประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในกรณีที่หน่วยงานจัดโครงการ


เกณฑ์การประเมิน






4.50 คะแนน

4.50 คะแนน

4.697

บรรลุ

4.7

4.60 คะแนน

จุดแข็ง

1) มีการประเมินการให้บริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงพัฒนาการให้บริการตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ

2) มีระบบการเสนอขอรับทุนวิจัยทั้งกองงบประมาณกองทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และทุนจากงบประมาณแผ่นดิน ภายใต้กองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการ ยื่นเสนอของบประมาณ และมีการประเมินผลจากผู้ทรงคุณวุฒิผ่านระบบออนไลน์ ทำให้นักวิจัยได้รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ทรงคุณวุฒิและสอบถามข้อมูลเพื่อปรับแก้ไขโครงร่างให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากรในการดำเนินงานและทำให้สามารถพัฒนาคุณภาพงานวิจัยได้ดียิ่งขึ้น


จุดที่ควรพัฒนา

-


ข้อเสนอแนะ

-


อ.ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ 053-885950
นางสาวณัฐญาย์ สมาเกตุ 053-885680

ใช้คะแนนผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการของหน่วยงาน

(คะแนนเต็ม 5) ที่ครอบคลุมอย่างน้อย 3 ประเด็นดังนี้

  1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ
  2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
  3. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
  4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ
  5. ความพึงพอใจด้านระบบสารสนเทศหน่วยงาน

ผลการดำเนินงาน


สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการให้บริการนักวิจัย จัดอบรมฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสนับสนุนความรู้ด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการจัดการความรู้ แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ตลอดจนการจัดกิจกรรมบริการวิชาการร่วมกับชุมชน จำนวน 4 กิจกรรม และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ รายละเอียดดังนี้

 

กิจกรรมที่ 1 ผลประเมินจากผู้เข้าร่วมอบรมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประเภททุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting คือ

กิจกรรมที่ 1

มีค่าเฉลี่ย 4.69

ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 65 คน

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 2 ผลประเมินจากผู้เข้าร่วมการอบรมออนไลน์ “การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” วันพุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00-17.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting คือ

กิจกรรมที่ 2

มีค่าเฉลี่ย 4.70

ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 72 คน

 

กิจกรรมที่ 3 ผลประเมินจากผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ 2566 วันที่ 5 – 6 มีนาคม 2565 เวลา 08.00 – 16.30 น. ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ

กิจกรรมที่ 3

มีค่าเฉลี่ย 4.68

ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 28 คน

 

กิจกรรมที่ 4 ผลประเมินจากผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนภายใต้คลินิกเทคโนโลยีปีงบประมาณ 2566" ในวันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom cloud Meeting  คือ

กิจกรรมที่ 4

มีค่าเฉลี่ย 4.72

ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 33 คน

 

ดังนั้น ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ

= (4.69*65) + (4.70*72) + (4.68*28) + (4.72*33)

65 + 72 + 28 + 33

                 = 930.05/198

ดังนั้น คะแนนที่ได้ = 4.697

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.3-1-1 ตารางสรุปความพึงพอใจต่อสถาบันวิจัยและพัฒนา ปีงบประมาณ 2565

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สถาบันวิจัยและพัฒนา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่