หน่วยงาน : สำนักหอสมุด

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

0-5388-5900

โทรสาร

0-5388-5900

คำอธิบายตัวบ่งชี้


หน้าที่สำคัญของสำนักหอสมุด คือ การให้บริการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลและใช้ประกอบการเรียนการสอนการวิจัย สำนักหอสมุดจึงได้กำหนดตัวบ่งชี้ตามพันธกิจ โดยพิจารณาจากเกณฑ์มาตรฐานดังต่อไปนี้

หมายเหตุ:

          ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์

          บริการอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การบริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บริการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์     เป็นต้น


รอบระยะเวลา



เกณฑ์มาตรฐาน


เกณฑ์มาตรฐาน

1. มีจำนวนทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
2. มีจำนวนบริการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
3. มีจำนวนผู้ใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
4. มีจำนวนระบบสารสนเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
5. มีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อทรัพยากรและบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา


เกณฑ์การประเมิน

บรรลุตามเกณฑ์ 1 ข้อ

บรรลุตามเกณฑ์ 2 ข้อ

บรรลุตามเกณฑ์ 3 ข้อ

บรรลุตามเกณฑ์ 4 ข้อ

บรรลุตามเกณฑ์ 5 ข้อ

5

5

4

บรรลุ

4

5

จุดแข็ง


จุดที่ควรพัฒนา


ข้อเสนอแนะ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธินันท์ ชื่นชม 053-885901
อาจารย์ ดร.วาสนา สันติธีรากุล 053-885909

มีจำนวนทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงาน


มีจำนวนทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

     จำนวนทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 738 รายการ (เอกสารหมายเลข 2.11-1-1 – 2.11-1-3) ตามตารางที่ 1 ดังนี้

ตารางที่ 1 จำนวนทรัพยากรเล็กทรอนิกส์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รายการ

ปี 2564

ปี 2565

เพิ่มขึ้น

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

286

641

355

วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์

652

702

50

สื่อโสตทัศน์เพื่อการเรียนรู้

1,131

1182

51

สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

343

625

282

รวม

2,412

3,150

738

 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.11-1-1 สรุปการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
2.11-1-2 สรุปผลการดำเนินงาน การจัดทำเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (TDC) ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
2.11-1-3 สรุปจำนวนทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นปีงบ 2565

มีจำนวนบริการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงาน


จำนวนบริการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีทั้งสิ้น 4 บริการ ได้แก่

  1. บริการ Web Subject Guide เป็นการรวบรวมทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละหัวเรื่องเพื่อเป็นแนวทางการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้ใช้บริการ โดยหัวเรื่องจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มการศึกษา กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มการจัดการและบริหารธุรกิจ และกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะรวมรวบทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ 4 ประเภทได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journals) คลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (CMRUIR) และเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น (เอกสารหมายเลข 2.11-2-1)

(URL : https://www.lib.cmru.ac.th/iss/websubjectguide/)

 

  1. บริการระบบลงทะเบียนกิจกรรม (Activities Register) เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการบริการของสำนักหอสมุด เพื่อบริหารจัดการกิจกรรมของสำนักที่จัดขึ้น เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรได้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม หรือสามารถยกเลิกการเข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยในรายของนักศึกษานั้นจะสามารถตรวจสอบผลการเข้าร่วมกิจกรรมได้จากระบบเมื่อกิจกรรมได้เสร็จสิ้นและผู้ดูแลกิจกรรมได้ทำการประมวลผลแล้วเสร็จ (เอกสารหมายเลข 2.11-2-2)

(URL : https://www.lib.cmru.ac.th/iss/register/)

 

  1. บริการ CMRUL Virtual Library : Virtual tour เป็นบริการเยี่ยมชมสำนักหอสมุดในรูปแบบ Virtual tour 360 องศา เหมือนได้เข้าชมสถานที่จริง เพื่อให้ผู้ชมสามารถมองเห็นภาพทุกมุมมองของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์ แท็บแล็ต และสมาร์ทโฟน โดยจะมีคำอธิบายบริเวณจุดที่น่าสนใจ ซึ่งจะมีปุ่มผู้ใช้สามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ (เอกสารหมายเลข 2.11-2-3)

(URL : https://www.lib.cmru.ac.th/virtuallibrary/)

 

  1. บริการ CMRUL Virtual Bookshelf : MESC Collection เป็นบริการชั้นวางหนังสือเสมือน(Virtual Bookshelf) รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่เกี่ยวกับประเทศตะวันออกกลาง โดยสร้างเป็น Collection พิเศษ แสดงภาพปกของทรัพยากรสารสนเทศใน Collection นี้ โดยข้อมูลที่แสดงในบริการนี้จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (WALAI AutoLib) (เอกสารหมายเลข 2.11-2-4)

(URL : https://www.lib.cmru.ac.th/virtuallibrary)

 

  1. บริการ Bookcaze  เป็นบริการรวบรวม      e-Books เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงและอ่านหนังสือได้อย่างสะดวก ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น iPhone, iPad Android และเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะรวบรวมทรัพยากรทั้งที่เป็นหนังสือและนิตยสารจากหลากหลายสำนักพิมพ์ทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการอัพเดทรายการทรัพยากรใหม่ตลอดเวลาและขณะนี้มีจำนวน e-Books ที่ให้บริการจำนวนทั้งสิ้น 533 รายการ (เอกสารหมายเลข 2.11-2-5)

(URL : https://cmrulib.bookcaze.com/)

 

  1. บริการ CU e-Library  แอปพลิเคชันที่รวบรวมทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทหนังสือจากสำนักพิมพ์ชั้นนำ รองรับการทำงานบนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS และ Android โดยใช้งานผ่าน Browser สามารถยืม-คืนรายการทรัพยากรจากแอปพลิเคชันได้ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว ผู้ใช้สามารถปรับ/ลดขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับการอ่านในอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน มีโหมดถนอมสายตา และสามารถอ่าน e-Books  ในแบบออฟไลน์ได้ (เอกสารหมายเลข 2.11-2-6)

(URL : https://elibrary-cmrucu.cu-elibrary.com/)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.11-2-1 หน้าจอ Web Subject Guide
2.11-2-2 หน้าจอบริการระบบลงทะเบียนกิจกรรม (Activities Register)
2.11-2-3 บริการ CMRUL Virtual Library : Virtual tour
2.11-2-4 บริการ CMRUL Virtual Bookshelf : MESC Collection
2.11-2-5 คู่มือการใช้งาน Bookcaze
2.11-2-6 คู่มือการใช้ CU e-Library

มีจำนวนผู้ใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงาน


สำนักหอสมุดมีบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 73,553ครั้ง โดยมีรายละเอียดการใช้งานบริการอิเล็กทรอนิกส์ ตามตารางที่ 2 ดังนี้

 

ตารางที่ 2 จำนวนการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รายการ

ปี 2564

ปี 2565

เพิ่ม/ลด

บริการตอบคำถามผ่านระบบออนไลน์

546

572

26

บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ

357,978

165,594

-192,384

บริการเว็บไซต์สำนักหอสมุด

18,229

97,766

79,537

บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

27,547

100,507

72,960

บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

2,301

2,844

543

บริการเครือข่ายเสมือน (SSL-VPN)

3,186

2,973

-213

บริการ Web Subject Guide

-

113,084

113,084

รวม

409,787

483,337

73,553

 

จากตารางที่ 2 พบว่าบริการ Web Subject Guide ที่เพิ่มเข้ามาในปี 2565 ได้รับความสนใจจากผู้ใช้บริการเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นบริการรวบรวมทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์จากที่ต่าง ๆ ไว้ 4 กลุ่มใหญ่ ที่มีเนื้อหาครอบคลุมการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และพบว่ามีอยู่ 2 บริการที่มีการใช้บริการที่ลดลงได้แก่ บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและบริการเครือข่ายเสมือน (SSL-VPN) ซึ่งอาจเป็นเพราะสำนักหอสมุดได้ทำการเปิดให้บริการแบบ On-site เต็มรูปแบบ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยตรงภายในมหาวิทยาลัย หรือเข้ามาค้นหาทรัพยากรภายในห้องสมุดได้โดยตรง

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.11-3-1 สถิติการให้บริการตอบคำถามผ่านระบบออนไลน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.11-3-2 สถิติการใช้งาน สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.11-3-3 สถิติการเข้าใช้งานเว็บไซต์สำนักหอสมุด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.11-3-4 สถิติการเข้าใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.11-3-5 สถิติการเข้าใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.11-3-6 สถิติการเข้าใช้งานระบบเครือข่ายเสมือน (SSL-VPN) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.11-3-7 สถิติการเข้าใช้งาน Web Subject Guide ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

มีจำนวนระบบสารสนเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงาน


จำนวนระบบสารสนเทศที่เพิ่มจากขึ้นในปีงบประมาณที่ผ่านมาจำนวนทั้งสิ้น 2 ระบบ ได้แก่

1.ระบบลงทะเบียนกิจกรรมสำนักหอสมุด (Activities Register) (เอกสารหมายเลข 2.11-4-1) สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของสำนักหอสมุด เพื่อช่วยบริหารจัดการข้อมูลกิจกรรมของสำนักหอสมุดที่จัดขึ้น รวมทั้งสามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งผู้ดูแลกิจกรรมสามารถนำข้อมูลผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ไปบูรณาการกับระบบบริหารการศึกษาของกองพัฒนานักศึกษา เพื่อให้หน่วยกิตกิจกรรมกับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้

 

  1. ระบบสารสนเทศการประชุม (CMRUL Meeting System) (เอกสารหมายเลข 2.11-4-2) สนับสนุนการการดำเนินการด้านการบริหารจัดการสำนักหอสมุด ในการบริหารจัดการการประชุมของสำนักหอสมุดผ่านระบบ ได้แก่

2.1 เลขานุการในการประชุมสามารถกำหนดการประชุมและเพิ่มผู้เข้าร่วมประชุมได้

2.2 ระบบสามารถเพิ่มข้อมูลรายการประชุมใน Google Calendar ของผู้เข้าร่วมประชุมได้

2.3 แจ้งวาระการประชุมพร้อมแนบเอกสารประกอบการประชุมผ่านระบบ

2.4 ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถบันทึกหรือรายงานผลในวาระสืบเนื่องในระบบได้

2.5 เลขานุการสามารถบันทึกการประชุมผ่านระบบได้

2.6 สามารถค้นหาวาระการประชุมและมติที่ประชุมจากการประชุมได้

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.11-4-1 ระบบลงทะเบียนกิจกรรมสำนักหอสมุด (Activities Register)
2.11-4-2 หน้าจอรายงานสารสนเทศการประชุม (CMRUL Meeting System)

มีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อทรัพยากรและบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงาน


สำนักหอสมุดได้มีการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์และบริการอิเล็กทรอนิกส์ของสำนัก โดยมีรายละเอียดความพึงพอใจ ดังนี้ (เอกสารหมายเลข 2.11-5-1 ถึง 2.11-5-4)

 

ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์และบริการอิเล็กทรอนิกส์

รายการ

ปี 2564

ปี 2565

เพิ่ม/ลด

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์

4.50

(มาก)

4.23

(มาก)

-0.27

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์

4.24

(มาก)

4.38

(มาก)

0.14

รวม

4.37

4.31

-0.06

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากตารางที่ 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2565 ลดลงจากปี 2564 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2565 เพิ่มขั้นจากปี 2564 เมื่อนำความพึงพอใจทั้ง 2 ข้อมาหาค่าเฉลี่ยปรากฎว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ที่มีต่อทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์และบริการอิเล็กทรอนิกส์นั้นลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมาแต่ยังอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.31) เมื่อพิจารณาจากข้อเสนอแนะในผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการพบว่า ผู้ใช้บริการต้องการให้สำนักหอสมุดพัฒนาความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์และเพิ่มพื้นที่ใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Netflix ในพื้นที่หรือวิทยาเขตอื่นด้วย

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.11-5-1 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
2.11-5-2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
สำนักหอสมุด

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สำนักหอสมุด

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5900 โทรสาร 0-5388-5900

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่